นางปวีณา หงสกุล (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 -) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนักการเมืองสตรีชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครหลายสมัย เป็นที่รู้จักในบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์และผู้ดำเนินงานในนามมูลนิธิปวีณา
เริ่มต้นการทำงานที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา ต่อมาเข้าทำงานที่ ลุค อีสต์ แม็กกาซีน และเข้าทำงานที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา10 ปี จนได้เป็นผู้จัดการธนาคาร สาขาลาดพร้าว แล้วลาออกมาเป็น ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการโรงแรมโซฟิเทล หัวหิน ก่อนจะเข้าสู่วงการเมืองในสังกัดพรรคประชากรไทย ของนายสมัคร สุนทรเวช และต่อมาย้ายไปอยู่พรรคชาติพัฒนา
หมายเหตุ : ในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง นางปวีณา หงสกุล ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ทั้งสิ้น 6 สมัย
นางปวีณาเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน บิดา คือ น.อ. (พิเศษ) เพิ่ม หงสกุล และมารดา คือ นางเกยูร หงสกุล
นางปวีณามีชื่อเล่นว่า "ปิ๊ก" เป็นน้องสาวของ อาภัสรา หงสกุล ผู้เป็น นางงามจักรวาลชาวไทยคนแรก มีบุตรชายคือ นายษุภมน หุตะสิงห์ ลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตสายไหม เขต 1 เมื่อปี พ.ศ. 2548 นอกจากนี้มีน้องชายคือ นายฉมาดล หงสกุล ที่เป็น ส.ก. เขตสายไหม เขต 2 และ นายเอกภาพ หงสกุล เป็นประธานสภาเขตสายไหม อีกด้วย
นางปวีณา หงสกุล ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ทั้งสิ้น 6 สมัย (2531-2549) และดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการเมือง อาทิ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (กำกับดูแลการท่องเที่ยว) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคหญิงคนแรกของพรรคชาติพัฒนา นางปวีณาเคยลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 ครั้ง โดยครั้งแรกในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ได้เบอร์ 5 และครั้งที่ 2 คือ ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ได้เบอร์ 7 อันเป็นเบอร์เก่าของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่า ฯ คนก่อน ในการหาเสียงคราวนี้นางปวีณาใช้สีชมพูเป็นสีประจำตัว ซึ่งมีความหมายถึงความอ่อนหวานของผู้หญิง แต่ นางปวีณาต้องพบกับคู่แข่งคนสำคัญจากพรรคประชาธิปัตย์คือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ก่อนการลงคะแนน ความนิยมของทั้งคู่คี่สูสีกันมาก จนกระทั่งผลการเลือกตั้งออกมา ปรากฏว่า นางปวีณาได้คะแนนเสียงเป็นอันดับที่ 2 มีคะแนนเสียงมากถึง 6 แสนกว่าคะแนน
หลังจากนี้ นางปวีณาได้เข้าสังกัดกับทางพรรคไทยรักไทย อันเนื่องจากพรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 นางปวีณาได้ลงเลือกตั้งในเขตสายไหมและได้รับการเลือกตั้งไปด้วยคะแนนที่ทิ้งห่างคู่แข่งขันอย่างมาก เนื่องจากมีฐานเสียงอยู่บริเวณนี้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 ภายหลังจึงได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคชาติไทย
ในกลางปี พ.ศ. 2552 ได้ออกมาเปิดเผยกับสังคมว่าป่วยเป็นมะเร็งทรวงอกมานานกว่า 5 ปี โดยที่ไม่มีใครทราบนอกจากคนในครอบครัว โดยได้ต่อสู้กับโรคนี้มาโดยตลอด จนเกือบหายเป็นปกติในปัจจุบัน
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นางปวีณามีภาพลักษณ์ที่ทุกคนรู้จักดี คือ เป็นผู้ที่ทำงานด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาผู้หญิงและเยาวชน โดยมีมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์การสาธารณประโยชน์) เป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมักจะมีผลงานปรากฏตามสื่อมวลชนเป็นระยะ ๆ ซึ่งบทบาทในด้านนี้ของนางปวีณาโดดเด่นมาก จนได้รับการขนานนามว่า "แม่พระ"
มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์การสาธารณประโยชน์) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 27 เมษายน พ.ศ. 2542 มีนางปวีณา ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์การสาธารณประโยชน์) โดยมูลนิธิฯมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ความช่วยเหลือกับเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ ถูกทารุณกรรม ถูกเอารักเอาเปรียบ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้รับความเป็นธรรมและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้เป็นปกติสุขอย่างถาวรสืบไป เป็นการช่วยเหลือรัฐบาลในฐานะพลเมืองดีอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังได้เปิดสายด่วน "1134" และ "ตู้ ปณ.222 ธัญบุรี" เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์อีกด้วย
นางปวีณา ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการก่อตั้งมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์การสาธารณประโยชน์)ว่า "จุดมุ่งหมายของมุลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ที่ตั้งขึ้นมานั้น เราจะทำในกรณีที่ได้รับการร้องขอ ร้องเรียนให้เข้าไปช่วย โดยถ้าเป็นในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปช่วยเหลือแล้วนั้นเราจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยเราจะทำอย่างเดียวคือต้องเข้ามาร้องขอให้เราเข้าไปช่วย ไม่ว่าจะเป็นกรณีเด็กถูกข่มขืน โดยทารุณกรรม ถูกละเมิดสิทธิ ใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมาย กรณีต่างๆ เหล่านี้ เมื่อเราได้รับการร้องทุกข์แล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการเชิญเจ้าทุกข์เข้ามาที่มูลนิธิเพื่อให้ข้อมูล ถ้าเห็นว่ามีน้ำหนัก จากนั้นก็จะมีชุดเฉพาะกิจของเราเข้าไปสืบก่อนล่วงหน้าว่าเป็นจริงที่ตามได้รับหารร้องเรียนมาหรือไม่ ถ้าข้อร้องเรียนมีมูลเราก็จะประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเจ้าทุกข์ได้ไปแจ้งความไว้แล้วเพื่อดำเนินการต่อไปเป็นการช่วยเหลือทางราชการอีกทางหนึ่ง และเมื่อเราได้ช่วยเหลือเด็กแล้ว ก็จะต้องดูต่อไปว่า เด็กสามารถที่จะอยู่กับครอบครัวได้หรือไม่ ถ้ากรณีเด็กต้องการฟื้นฟูสภาพจิต หรือฝึกอาชีพ เราก็จะประสานงานกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมต่อไป แต่สำหรับกระบวนการยุติธรรมต่างๆ มูลนิธิฯ จะดูแลต่อไปจนสิ้นคดีนั้น"
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) • แสวง เสนาณรงค์ • มนูญ บริสุทธิ์ • สุรินทร์ มาศดิตถ์ • บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ • ปรีดา พัฒนถาบุตร • นิพนธ์ ศศิธร • ชวน หลีกภัย • นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ • ดุสิต ศิริวรรณ • บุญเรือน บัวจรูญ • สมพร บุญยคุปต์ • ถวิล รายนานนท์ • บุญยง วัฒนพงศ์ • สวัสดิ์ คำประกอบ • เฉลิมชัย จารุวัสตร์ • สิทธิ เศวตศิลา • เกษม จาติกวณิช • ปรีดา กรรณสูต • ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • ประมวล กุลมาตย์ • พร ธนะภูมิ • ดำริ น้อยมณี • สมศักดิ์ ชูโต • มีชัย ฤชุพันธุ์ • ชาญ อังศุโชติ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • สุตสาย หัสดิน • ศุลี มหาสันทนะ • ชาญ มนูธรรม • กระมล ทองธรรมชาติ • ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ • บัญญัติ บรรทัดฐาน • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • อำนวย สุวรรณคีรี • วิชิต แสงทอง • อรุณ ภาณุพงศ์ • บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ • กร ทัพพะรังสี • อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ • เฉลิม อยู่บำรุง • ประสงค์ บูรณ์พงศ์ • สรอรรถ กลิ่นประทุม • สอาด ปิยวรรณ • กร ทัพพะรังสี • หาญ ลีนานนท์ • จำรัส มังคลารัตน์ • หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี • ไพจิตร เอื้อทวีกุล • มีชัย วีระไวทยะ • สายสุรี จุติกุล • ใหม่ ศิรินวกุล • ชัชวาลย์ ชมภูแดง • สุชน ชามพูนท • วัฒนา อัศวเหม • ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • ทินพันธุ์ นาคะตะ • เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ • สาวิตต์ โพธิวิหค • สุรศักดิ์ เทียมประเสริฐ • ชินวุธ สุนทรสีมะ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ปัญจะ เกสรทอง • ปองพล อดิเรกสาร • เรืองวิทย์ ลิกค์ • จรัส พั้วช่วย • รักเกียรติ สุขธนะ • โภคิน พลกุล • บุญพันธ์ แขวัฒนะ • ฉัตรชัย เอียสกุล • ชิงชัย มงคลธรรม • วีระกร คำประกอบ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ • สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ • ภูษณ ปรีย์มาโนช • พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ • สุพัตรา มาศดิตถ์ • สาวิตต์ โพธิวิหค • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ • สมบุญ ระหงษ์ • ไชยยศ สะสมทรัพย์ • พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ • ปวีณา หงสกุล • ภิญโญ นิโรจน์ • อดิศัย โพธารามิก • จาตุรนต์ ฉายแสง • ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา • สมศักดิ์ เทพสุทิน • กระแส ชนะวงศ์ • พงศ์เทพ เทพกาญจนา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุรนันทน์ เวชชาชีวะ • เนวิน ชิดชอบ • ทิพาวดี เมฆสวรรค์ • ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ • ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล • ชูศักดิ์ ศิรินิล • จักรภพ เพ็ญแข • สุขุมพงศ์ โง่นคำ • สุพล ฟองงาม • สาทิตย์ วงศ์หนองเตย • วีระชัย วีระเมธีกุล • องอาจ คล้ามไพบูลย์ • สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ • กฤษณา สีหลักษณ์ • วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล • นลินี ทวีสิน • นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล • วราเทพ รัตนากร • ศันสนีย์ นาคพงศ์ • สันติ พร้อมพัฒน์ • หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล • สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
(เลขาธิการ) ไศล สุขพันธ์โพธาราม ? ชัยสิทธิ์ ธิติสุทธิ ? บุญยง วัฒนพงศ์ ? สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ? ระวี วันเพ็ญ